รถไฟฟ้าขับเคลื่อนได้อย่างไร?

รถไฟฟ้าขับเคลื่อนได้อย่างไร

ทุกคนต้องคุ้นเคยกับรถยนต์ รถมอเตอร์ไซค์ที่เราเห็นตามท้องตลาด และขับเคลื่อนด้วยพลังงานเชื้อเพลิงจากน้ำมัน มีกลไกลและชิ้นส่วนมากมาย ถ้าไม่มีพลังงานจากน้ำมันรถจะไม่สามารถขับเคลื่อนได้ แต่เทคโนโลยีในสมัยนี้ได้พัฒนาไปไกลมากขึ้น รวดเร็ว ทำให้ชีวิตเราสะดวกมากขึ้น ปัจจุบันเราได้เห็นรถพลังงานไฟฟ้ามากขึ้นในชีวิตประจำวันบ่อยขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์

รถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า หลายรุ่น หลาบแบบมากมาย ออกมาให้เห็น แต่รถไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนได้อย่างไร? มีหัวใจอะไรเป็นสิ่งสำคัญ?  มีการทำงานยังไง? แน่นอนครับคำว่าไฟฟ้าก็ต้องขับเคลื่อนด้วยพลังงานจากไฟฟ้า ซึ่งมีชิ้นส่วนสำคัญอยู่ 3 อย่างก็คือ  1.แบตเตอรี่ 2.มอเตอร์ 3.กล่องควบคุม หรือ Controller Unit นั้นเอง แต่เราจะมาพูดถึงหัวข้อของแบตเตอรี่กันก่อนครับ

แบตเตอรี่   ตัวของแบตเตอรี่แปลงเป็นพลังงานทางเคมีให้เป็นพลังงานไฟฟ้าโดยตรง ตัวแบตเตอรี่จะประกอบไปด้วยเซลล์แบบโวลตาได้มากกว่า 1 เซลล์ครับ เชื่อเรียงต่อกันเป็นแถว โดยที่สารอิเล็กโทรไลต์ ที่เป็นสื่อกระแสไฟฟ้า มีไอออนประจุลบ และไอออนประจุบวก มีทั้งขั้วลบ และขั้วบวกครับ แต่ละเซลล์มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าครับ หรือ EMF ความสามารถของมันคือการขับกระแสไฟ (Ah) จากภายในสู่ภายนอกเซลล์  แรงขับไฟฟ้าที่ขั้วของเซลล์ เรียกว่า แรงดันไฟ (V) โวลต์ที่ขั้วไฟฟ้าของเซลล์ ที่ไม่ใช้ทั้งกำลังชาร์จ และดีสชาร์จเรียกว่า แรงดันไฟฟ้าวงจรเปิด

การทำงานของแบตเตอรี่   ตัวแบตเตอรี่จะเก็บไฟฟ้าไว้ใช้สำหรับการใช้งานในอนาคตครับ โดยที่จะสร้างแรงดันไฟฟ้า จากปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้นเมื่อวัตถุทั้งสองอย่างมีความแตกต่างกัน  โดยทั่วไปแล้วแรงดันไฟฟ้า จะอยู่ที่ประมาฯ 2 โวลตะต่อหนึ่งเซลล์ รวมทั้งหมด12 โวลต์ กระแสไฟฟ้า จะทำการไหลจากแบตเตอรี่ทันทีที่มีการต่อวงจรระหว่าง ขั้วบวก+ และขั้วลบ –

แบตเตอรี่ตะกั่ว-กรด กระบวนการชาร์จ การคายประจุเมื่อแบตเตอรี่ถูกเชื่อมต่อเข้ากับโหลดที่จำเป็นต้องใช้ไฟฟ้า เช่นการ สตารท์ในรถยนต์ กระแสไฟจะไหลออกมาจากแบตเตอรี่ ทำให้มีการคายประจุ  แต่ในทางกลับกันนั้น แบตเตอรี่จะถูกชาร์จเมื่อกระแสไฟมีการไหลกลับไปยังแหล่งกำเนิด ทำให้เกิดความแตกต่างของสารเคมีกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นเมื่อ เราขับรถแบบไม่มีอุปกรณ์เสริมใดๆเลย ตัวไฟฟ้าสลับจะทำให้กระแสไฟฟ้ากลับเข้าไปในแบตเตอรี่

แบตเตอรี่แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม

  1. แบตเตอรี่ที่ใช้แล้วทิ้ง แบตเตอรี่ที่ประจุไฟฟ้าใหม่ไม่ได้ แบตเตอรี่ที่ประจุไฟฟ้าใหม่ได้

แบตเตอรี่ที่ใช้แล้วทิ้งนั้น คือใช้ได้ครั้งเดียว เนื่องจากไฟฟ้าเกิดการเปลี่ยนแปลงทางสารเคมี เมื่อสารเคมีเปลี่ยนแปลงหหมดไฟฟ้าก็จะหมดจากแบตเตอรี่ แบตเตอรี่พวกนี้ จะเหมาะกับการใช้งานขนาดเล็กๆ เคลื่อนย้ายได้สบาย

แบตเตอรี่ที่สามารถประจุไฟฟ้าใหม่ได้ สามารถประจุได้หลังจากที่กระแสไฟฟ้าหมด เนื่องจากสารเคมีที่ทำให้ชนิดนี้สามารถทำให้กลับไปอยู่ในสภาพเดิมโดยประจุไฟฟ้าเข้าไปใหม่อุปกรณ์ที่ใช้อัดไฟ เรียกว่า ชาร์จเจอร์ หรือ รีชาร์จเจอร์

ประโยชน์ของแบตเตอรี่ของรถ -การจ่ายพลังงานให้สตาร์ทเตอร์ และระเบิดจุดระเบิดของรถ -รักษาระดับโวลเทจของระบบไฟฟ้า – จ่ายพลังงานส่วนเกินให้กับรถเมื่อเกิดการใช้ไฟฟ้า